วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ดอกแก้ว




จำนวนคนถูกใจ 
ดูรายละเอียด











ชื่อที่เรียก


















ดอกแก้ว
ชื่ออื่นๆ
กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี) แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง)
หมวดหมู่ทรัพยากร
พืช
ลักษณะ
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบประกอบ ผิวใบมันเข้ม และเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก สีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอมมาก ผล สดกลมรี หรือรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ที่เปลือกมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด กว้าง 5-8 มม. ยาว 0.8-1 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง เมล็ดรูปไข่ปลายสอบ มีขนสั้นๆ อยู่รอบเมล็ด กว้าง 4-6 มม. ยาว 6-9 มม. สีขาวขุ่น มีจำนวน 1-2 เมล็ดต่อผ
ประโยชน์
เป็นยาขับประจำเดือน
แหล่งที่พบ
บ้านปู่
ตำบล
เขาดิน
อำเภอ
เดิมบางนางบวช
จังหวัด
สุพรรณบุรี
ฤดูกาลใช้ประโยชน์
ทุกฤดูกาล
ศักยภาพการใช้งาน
ทั่วไป
ชื่อสามัญ
Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์
Murraya paniculata (L.) Jack.
ชื่อวงศ์
RUTACEAE
แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_2
แก้ว

ทุ่งดอกปอเทือง


ทุ่ทืง 

           ทุ่งดอกปอเทือง ถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์วิทยา โดยส่วนใหญ่จะพบมากในช่วงเขตพื้นที่ของ ตำบลหนองชุมพล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี และได้กลายเป็นที่นิยมของบรรดาคนรักดอกไม้ และเหล่าช่างภาพที่ต้องการเก็บภาพสวยๆของทุ่งดอกปอเทือง ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยได้รับการนิยมปลูกกันมากนัก
          สำหรับคนที่สนใจอยากมาชมทุ่งดอกปอเทืองนั้น เนื่องจากว่าที่นี่นิยมปลูกกันในเดือนธันวาคมถึงมกราคม เมื่อต้นปอเทืองโตเต็มที่ จะออกดอกสีเหลืองสดบานสะพรั่ง สวยงามมากมองเห็นเด่นชัดในระยะไกล
          แน่นอนว่าหากคุณมีโอกาสมาเยือนจังหวัดเพชรบุรี คงไม่เสียเวลมากนัก หากจะแวะมาชมความงดงามของทุ่งปอเทืองเหลืออร่าม ที่บานรอนักท่องเที่ยวให้มาชมความงดงามของมันสักครั้งหนึ่ง
  
          ดอกปอเทือง (Crotalaria juncea) เป็นพืชฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามากสูงประมาณ 180 - 300 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดียวยาวรี ช่อดอกเป็นแบบราซีม (racemes) ซึ่งอยู่ปลายกิ่งก้านสาขา ประกอบด้วยดอกย่อย 8 -20 ดอก ดอกสีเหลืองมีการผสมข้ามฝักเป็นทรงกระบอกยาว 3 - 6 เซนติเมตร กว้าง 1 - 2 เซนติเมตร หนึ่งฝักมีประมาณ 6 เมล็ด เมื่อเขย่าฝักแก่จะมีเสียงดังเนื่องจากเมล็ดกระทบกันเมล็ดมีรูปร่างคล้ายหัวใจสีน้ำตาลหรือดำ
 การเดินทาง
          จากขอนแก่น ตามถนนมะลิวัลย์ระหว่าง ขอนแก่น-ชุมแพ จากขอนแก่น 68 กม. ถึงบ้านโคกสูงสังเกตป้ายแยกขวาไปบ้านโคกม่วงถ้ามาจากขอนแก่นจะต้องไปกลับรถบริเวณปั้มใบจาก แล้วเลี้ยวตามเส้นทางไปบ้านโคกม่วงอีก 4.5 กม. ก็จะถึงทุ่งปอเทืองทุ่งที่ 1 และ 2  
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=27585 

ดอกประดู่

มาทำความรู้จักดอกประดู่กัน

Posted by  in  on 6-15-12
ดอกประดู่
ดอกประดู่
ดอกประดู่
ชื่อวิทยาศาสตร์    Plerocarpus Indicus
ชื่ออื่นๆ              Burmese Rosewood, ประดู่ , ดู่บ้าน , สะโน (ภาคใต้)
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
ประดู่เป็นพรรณไม้ของอินเดีย ชอบแสงแดดจัดดังนั้นจึงเห็นปลูกกันตามริมถนนในทั่วๆไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ดอกประดู่ หรือ ต้นประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ขึ่นไปใบจะออกรวมกันเป็นช่อคล้ายกับขี้เหล็ก ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดดอกเล็ก ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 0.5- 1 ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ฤดูดอกบานอยู่ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
การปลูกและดูแลรักษาประดู่เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ความชื้นสูง ต้องการน้ำปานกลาง สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่จะให้ดีควรเป็นดินร่วนซุย
ด้านความเชื่อและความเป็นศิริมงคลคนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง
ดอกประดู่
ดอกประดู่
ดอกประดู่
ดอกประดู่
ดอกประดู่
ดอกประดู่
ดอกประดู่
ดอกประดู่
ดอกประดู่

จำปา

จำปา
จำปา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
ดิวิชั่น:Angiosperm
ชั้น:Magnoliid
อันดับ:Magnoliales
วงศ์:Magnoliaceae
สกุล:Michelia
สปีชีส์:M. champaca
ชื่อวิทยาศาสตร์
Michelia champaca
L.จำปา มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของจีน อินเดีย ไทย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย และมีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า จำปากอ (มลายู-ใต้) จำปาเขา จำปาทอง (นครศรีธรรมราช) จำปาป่า (สุราษฎร์ธานี)จำปาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 20 ฟุตมีสีน้ำตาลปนขาวเล็กน้อย กิ่งเปราะ ใบสีเขียวใหญ่เป็นมัน ดอกเริ่มแย้มจะมีกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำ ออกดอกเกือบตลอดปี แต่จะมีปากในช่วงฤดูฝน ปลูกนานกว่า 3 ปี จึงจะออกดอก จำปาเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ไม่ชอบที่น้ำขังจะทำให้ตายได้ ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วน โปร่ง อุดมสมบูรณ์ และจำปาเป็นไม้ที่มีประโยชน์ทางด้านสมุนไพร

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]ลักษณะวิสัย

ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นตรง ทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปกรวยคว่ำ ค่อนข้างโปร่ง แตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด เปลือกสีเทาอมขาว มีกลิ่นฉุน

[แก้]ลักษณะใบ

เป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมขอบขนานกว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 10-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ เนื้อใบบาง ใบอ่อนมีขน ใบแก่เกลี้ยง เส้นใบ 16-20 คู่ ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร โคนก้านใบป่อง

[แก้]ลักษณะดอก

เป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองอมส้ม ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกตั้งขึ้น ดอกตูมรูปกระสวย มีแผ่นสีเขียวคลุมอยู่ และจะหลุดไปเมื่อดอกบาน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกัน มีจำนวน 12-15 กลีบ แต่ละกลีบรูปยาวรีแกมรูปหอกกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 4-4.5 เซนติเมตร กลิ่นหอมแรง ดอกเริ่มแย้มและส่งกลิ่นหอมยามพลบค่ำ ในเช้าวันต่อมากลีบดอกจะกางออกจากกัน และร่วงหล่นในช่วงเวลาเย็น ออกดอกเกือบตลอดปี แต่จะมีมากช่วงต้นฤดูฝน

ลักษณะผล

เป็นกลุ่ม ยาว 6-9 เซนติเมตร ผลย่อยค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ติดผลได้ดี มีหลายเมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดสีแดง เมล็ดแก่ในช่วงฤดูแล้ง

[แก้]การขยายพันธุ์และปลูกเลี้ยง

ขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง และการตอนกิ่งแต่นิยมเพาะเมล็ดกันมาก เนื่องจากมีเมล็ดจำนวนมาก หาง่าย และเพาะให้งอกได้ง่ายต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดจะมีลำต้นตรง ระบบรากดี เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีทรงพุ่มแน่นทึบสวยงาม ต้นที่ปลูกอยู่บนภูเขาหรือในที่สูงจะติดเมล็ดได้ดีกว่าต้นที่ปลูกบนพื้นราบ จำปาชอบดินร่วนระบายน้ำดีและต้องการรับแสงแดดมากเต็มที่ หากต้องการปลูกให้ออกดอกในกระถางควรใช้วิธีทาบกิ่ง

[แก้]สรรพคุณ

  1. ใบ - แก้โรคเส้นประสาทพิการ แก้ป่วงของทารก
  2. ดอก - แก้วิงเวียนอ่อนเพลีย หน้ามืดตาลาย บำรุงหัวใจ กระจายโลหิต
  3. เปลือกต้น - ฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้เสมหะในลำคอเกิด
  4. เปลือกราก - เป็นยาถ่าย ทำให้ประจำเดือนมาปกติ รักษาโรคปวดตามข้อ
  5. กระพี้ - ถอนพิษผิดสำแดง
  6. เนื้อไม้ - บำรุงโลหิต
  7. ราก - ขับโลหิตสตรีที่อยู่ในเรือนไฟให้ตก

[แก้]การใช้ประโยชน์

นิยมปลูกเป็นไม้ดอก ไม้ประดับ ประเภทดอกหอมสวยงาม และเป็นไม้ให้ร่มเงาในสนามได้ดีมากต้นหนึ่ง

ดอกจําปี


ลักษณะทั่วไปดอกจําปี

Posted by  in  on 6-5-12
ดอกจําปี
ดอกจําปี
ดอกจําปี
จำปีเป็นไม้ยืนต้นมีอายุประมาน 10 – 20 ปี ใบหนาสีเขียวเข้ม มนรี ปลายแหลม ริมใบเกลี้ยงนวล ออกดอกตามก้านตามโคนใบที่ยอดของแต่ละกิ่ง ใบละดอก มีสีเขียวจนถึงเหลืองคลีม ดอกจะบานเวลาประมาน 2 – 3 ทุ่ม จำปีจะออกดอกเมื่อต้นหนึ่งปีขึ่นไป และจะออกดอกมากที่สุดช่วงอายุ 3 – 5 ปี
การขยายพันธุ์ : ควรใช้วิธีการตอนกิ่ง โดยเลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนจากต้นที่ให้ผลผลิตสูง และควรตอนในฤดูฝนเพราะรากจะงอกง่าย
วิธีการปลูก : พรวนดินและพลิกดินขึ้นตากผสมปุ๋ยคอกและปูนขาวพึ่งไว้ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ขุดหลุมขนาด 1/1/1 เมตร ตากดินให้แห้งแล้วจึงผสมด้วยปุ๋ยคอกมูลสัตว์ 1 ปุ้งกี๋ ไว้กลบลงในหลุม รองก้นหลุมด้วยเศษกระดูกสัตว์ก่อนปลูก หากจะปลูกเพื่อเก็บดอกจำหน่าย ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 4 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร ถ้าเป็นพื้นราบ แต่หากปลูกแบบยกร่องให้ปลูกเป็นแถวเดียว ระยะเวลาที่เหมาะสมกับการปลูกคือ ปลายฤดูฝนตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม และก่อนหลังฤดูแล้งคือตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม การให้น้ำ หลังปลูกเสร็จแล้วควรรดน้ำทุกวันเช้า-เย็น จนกว่าต้นจะตั้งตัวได้จึงรดน้ำวันละครั้ง แต่หากเป็นหน้าแล้งควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เนื่องจากหากได้น้ำไม่เพียงพอก็จะออกดอกน้อย การให้ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 หรือ 14-14-14 (50 กิโลกรัม/ไร่) เดือนละครั้ง โดยหยอดเป็นหลุมรอบทรงพุ่มแล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนปุ๋ยคอกและปูนขาวให้ใส่ปีละครั้งพร้อมการพรวนดิน
ดอกจําปี
ดอกจําปี
ดอกจําปี
ดอกจําปี
ดอกจําปี
ดอกจําปี
ดอกจําปี
ดอกจําปี
ดอกจําปี
ดอกจําปี
ดอกจําปี

ต้นสาละ

ต้นสาละและต้นลูกปืนใหญ่ พันธุ์ไม้ต่างชนิดกันแต่เข้ามาเกี่ยวข้องกันโดยบังเอิญ (รศ.ดร. นริศ ภูมิภาคพันธ์)
นำเรื่อง
ความสับสนระหว่างต้นไม้ 2 ชนิด คือ ลูกปืนใหญ่ (Cannon Ball Tree; Couroupita guianensis Aubl.) บางครั้งเรียกว่า สาละลังกา เป็นพันธุ์ไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ต่อมามีผู้นำไปปลูกในดินแดนต่างๆ รวมทั้งประเทศศรีลังกา กระทั่งมีการนำจากศรีลังกาเข้ามาปลูกในประเทศไทย เราสามารถพบเห็นปลูกตามวัดต่างๆ ในประเทศไทย และติดป้ายว่าเป็น สาละ (Sal; Shorea robusta C.F. Gaertn.) ซึ่งผมมีโอกาสได้พบเห็นหลายครั้งทั้งวัดในกรุงเทพฯ และตามต่างจังหวัดปลูกต้นลูกปืนใหญ่ ในบริเวณลานวัด และบรรยายความรู้ว่าเป็นต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าที่เสด็จมาประทับก่อนดับขันปรินิพพาน และเมื่อเร็วๆ นี้ผมได้ผ่านเข้าไปอ่านเรื่องราวเกี่ยวข้องกับสาละ (Sal; Shorea robusta) ได้พบเห็นแต่ภาพของต้นลูกปืนใหญ่ แฝงอยู่ในชื่อของสาละ (Sal; Shorea robusta) มีอยู่ค่อนข้างมาก และมีภาพที่ถูกต้องจริงๆ อยู่น้อยมาก นั่นหมายถึงการกระจายข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อนออกไปค่อนข้างมาก ซึ่งน่าจะเป็นผลเสียต่อผู้รับข่าวสาร และข้อมูล และกระทบต่อความรู้ในพุทธประวัติ เรื่องนี้น่าที่จะแก้ไขให้ถูกต้องตามความจริง
ความรู้เรื่องต้นสาละ กับพระพุทธองค์
โดยนัยของต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระพุทธองค์เสด็จดับขันปรินิพพาน ใต้ ต้นซาล หรือสาละ ในเมืองกุสินารา ป่าซาล หรือป่าสาละ (Sal forest) ซึ่งเป็นป่ายางผลัดใบ (Dry dipterocarp forest) คล้ายกับป่าเต็งรัง ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่พบว่ามี ไม้ซาล เป็นไม้เด่นประจำป่า นอกจากนั้นหลายๆ หลายบทความที่อ่านพบ หรือนำเผยแพร่ใน Internet ได้อธิบายลักษณะต่างๆ ของสาละได้ถูกต้องในชนิดของ สาละ (Sal; Shorea robusta) แต่พบว่าการเลือกใช้ภาพประกอบเป็นชนิด ต้นลูกปืนใหญ่ การนำต้นลูกปืนใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงทั้งในเรื่องพุทธประวัติ และเขตการกระจายทางพฤกษภูมิศาสตร์ (Plant Geography) ของไม้ลูกปืนใหญ่ ซึ่งมิได้มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในประเทศเนปาล อินเดีย และศรีลังกาแต่ประการใด แต่อยูไกลถึงทวีปอเมริกาใต้
มีหลายท่าน เช่น วัฒน์ (2550) พยายามที่จะสื่อให้ความรู้นี้ ในรูปบทความ และเผยแพร่ในสื่อตาม Website แต่ยังไม่แพร่หลาย จึงขอนำมากล่าวไว้อีก ครั้ง และสามารถ คลิกเข้าไปอ่านหรือชมภาพได้ตาม Website ต่างๆ ที่ได้ Link ไว้ในบทความนี้ ละเอียดของต้นไม้ 2 ชนิด มีดังนี้
1. ลูกปืนใหญ่ หรือสาละลังกา 
ชื่อสามัญเรียก Cannon Ball Tree
ชื่อพฤษศาสตร์ Couroupita guianensis Aubl.
วงศ์ Lecythidaceae
 
[ดอกและลำต้น ลูกปืนใหญ่หรือสาละลังกา]
ลักษณะพืช เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร เรือนยอดกลมหรือรูปไข่หนาทึบ เปลือกต้นขรุขระตกสะเก็ดเป็นร่อง คล้ายหนามตามลำต้น เปลือกสีน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ลักษณะใบยาวรูปหอกหรือรูปไข่ ขอบใบจักสั้น ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว ปลายช่อโน้มลงกลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลีบค่อนข้างแข็ง ดอกตูมจะเป็นสีเหลือง เมื่อบานดอกจะมีสีแดง หรือสีชมพูอมเหลือง กลิ่นหอมฉุน ออกดอกเกือบตลอดปี ผลมีขนาดใหญ่ เปลือกแข็ง ลักษณะคล้ายลูกปืนใหญ่สมัยโบราณ มีเมล็ดจำนวนมาก ชอบแดดจัด น้ำปานกลาง ดอกมักดกมากในช่วงหน้าฝน ดอกบานและร่วงในวันเดียว ตอนเย็น
2. ซาล, สาละ 
ชื่อพฤษศาสตร์ Shorea robusta C.F. Gaertn.
ชื่อสามัญ Shal, Sakhuwa, Sal Tree, Sal of India
วงศ์ Dipterocarpaceae

 
[ใบ ดอก และป่าต้นสาละ]
ถิ่นกำเนิด พบในประเทศเนปาล และพื้นที่ทางเหนือของประเทศอินเดีย มักขึ้นเป็นกลุ่ม ในบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น เป็นไม้ที่อยู่ในวงศ์ยาง พบมากในลุ่มน้ำยมุนา แถบแคว้นเบงกอลตะวันตก และแคว้นอัสสัม ลักษณะพืช เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง เปลือกสีเทาแตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ปลายกิ่งมักจะลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ใบ เดี่ยว ดกหนาทึบ รูปไข่กว้าง โคนใบเว้าเข้า ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ ผิวใบเป็นมันขอบใบเป็นคลื่น ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลชนิดแห้ง แข็ง มีปีก 5 ปีก ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก บนแต่ละปีกมีเส้นตามความยาวของปีก 10-15 เส้น
สาละเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย
สรรพคุณด้านสมุนไพรของต้นสาละ พบว่ายาง สามารถใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น ผล ใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น
ที่มา : http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=maipradab&topic=4782
ทางออกเบื้องต้นสำหรับการแก้ไขปัญหานี้
สาละ และลูกปืนใหญ่ พันธุ์ไม้ต่างชนิดกัน และมีถิ่นกำเนิดพบกระจายอยู่ห่างไกลต่างทวีปกัน แต่เข้ามาเกี่ยวข้องกันโดยบังเอิญ เนื่องจากความเข้าใจผิดในชื่อเรียกขาน ปัจจุบันความเข้าใจดังกล่าวได้แพร่กระจายออกไปไกล ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้น่าจะช่วยกันเผยแพร่ความรู้นี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และตามวัดต่างๆ ที่ปลูกต้นลูกปืนใหญ่ หรือที่เรียกและรู้จักในชื่อ สาละลังกา เป็นพันธุ์ไม้ที่มิได้เกี่ยวข้องใดใดกับพุทธประวัติ อาจเปลี่ยนป้ายที่บรรยายว่าเป็นพันธุ์ไม้จากทวีปอเมริกาใต้ มีชื่อพ้องกับสาละอินเดีย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่บุคคลทั่วไป หรืออาจเสาะหา สาละ (Shorea robusta C.F. Gaertn.) มาปลูกเปรียบเทียบด้วย เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณชนผู้พบเห็น สุดท้ายนี้ ท่านผู้ใดที่มีต้นสาละ (Shorea robusta C.F. Gaertn.) น่าที่จะนำไปถวายวัด เพื่อปลูกเป็นต้นไม้แห่งความรู้ที่เป็นวิทยาทานที่ถูกต้องต่อไป น่าจะเป็นกุศล และเป็นประโยชน์ไม่น้อย

ซากุระ"

ซากุระ

"ซากุระ" มาจากคำเก่าแก่สองคำ คือ "ซา" หมายถึง วิญญาณแห่งพืชพันธุ์  และ  "กุระ" หมายถึง
ที่ประทับของเทพเจ้า ดังนั้นคำว่า "ซากุระ" จึงหมายถึง ที่สถิตของจิตวิญญาณแห่งพืชพันธุ์ทั้งปวง
ในแง่ของตำนาน ซากุระเกิดขึ้นมาเพราะเทวนารีองค์หนึ่ง คือ โคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะ เชื่อกันว่า พระนางเป็นผู้ริเริ่มปลูกซากุระขึ้นเป็นครั้งแรก จึงได้ชื่อตามพระนามของนาง 

ซากุระ

โคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะ เป็นธิดาของโอโฮยามัทซูมิ เทพแห่งภูเขา วันหนึ่งพระนางได้พบเทพนินิงิที่ชายทะเล และตกหลุมรักซึ่งกันและกัน เทพนินิงิทูลขอเทพโอโฮยามัทซูมิเพื่อขอนางมาเป็นชายา ในตอนแรก เทพโอโฮยามัทซูมิได้เสนอธิดาอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นเทพีแห่งก้อนหินมาเป็นคู่สยุมพรแทน แต่เทพนินิงิไม่ยอม  พระองค์ยังยืนกรานในรักมั่นที่มีต่อเทวี แห่งซากุระ ในที่สุดจึงได้วิวาห์ดังที่ปรารถนา หลังอภิเษกได้เพียงวันเดียวเทพีโคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะก็ทรงครรภ์ เทพโอโฮยามัทซูมิทรงคลางแคลงพระทัยว่าบุตรในท้องไปลูกของพระองค์จริงหรือไม่ 
การที่เทพีโคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะ ได้กำเนิดโอรสในกองเพลิงนี่เอง ทำให้ชาวบ้านเชื่อกันว่า พระนางควบคุมไฟได้ เลยก็เลยมีการสร้างศาลบูชาพระนางขึ้นที่ตีนภูเขาไฟฟูจิในปี ค.ศ.806 ด้วยความหวังว่า พระนางจะช่วยไม่ให้ภูเขาไฟพิโรธ ทำให้ประชาชนเดือดร้อน พระนางจึงกลายเป็นเทพีแห่งภูเขาไฟฟูจิด้วย จนถึงทุกวันนี้ ผู้ที่ไปเยือนภูเขาไฟฟูจิมักจะแวะไปศักการะศาลของพระนางและเชื่อกันอีกอย่างว่า เมล็ดพันธุ์ของต้นซากุระที่พระนางนำมาปลูกเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่นนั้น ก็มาจากภูเขาไฟฟูจิซึ่งพระองค์ดูแลอยู่นี่เอง
นอกจากนั้น พระนางยังเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความปลอดภัยในบ้านและเปลี่ยนโชคร้ายให้กลายเป็นดี ให้ผู้คนได้ตามที่หัวใจปรารถนาด้วย

ซากุระ